วันอังคารที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

หน่วยที่ 1 การสื่อสารข้อมูล



         ความหมายและองค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล


          ความหมายของระบบสื่อสารข้อมูล


เมื่อกล่าวถึงการติดต่อสื่อสารในอดีตอาจหมายถึงการพูดคุยกันของมนุษย์ซึ่งอาจเป็นการแสดงออกด้วยท่าทาง การใช้ภาษาพูดหรือผ่านทางตัวอักษร โดยเป็นการสื่อสารในระยะใกล้ๆ ต่อมาเทคโนโลยีก้าวหน้าได้มีการพัฒนาการสื่อสารเข้ากับการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถสื่อสารได้ในระยะไกลขึ้นและสะดวกรวดเร็วมากขึ้น เช่น การใช้โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร เป็นต้น อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารเองก็ได้รับการพัฒนาความสามารถขึ้นมาเป็นลำดับ และเข้ามามีบทบาททุกวงการ
ดังนั้นยุคสารสนเทศนี้ ระบบสื่อสารข้อมูล จึงหมายถึง การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ เสียงหรือวีดีทัศน์ระหว่างอุปกรณ์สื่อสาร โดยผ่านทางสื่อกลางในการสื่อสารซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทที่มีสายหรือไร้สายก็ได้ และมีกฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดที่แน่นอนในการควบคุมการสื่อสาร

 

         องค์ประกอบของระบบสื่อสารข้อมูล

องค์ประกอบหลักของระบบสื่อสารข้อมูล ประกอบด้วย ๕ ส่วน ได้แก่



รูปที่ ๑ องค์ประกอบหลักของการสื่อสารข้อมูล

1. ผู้ส่ง (Sender) ผู้ส่งในที่นี้หมายถึง อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลข่าวสาร 
ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ข่าวสาร (message) ข่าวสารประกอบด้วยข้อมูลหรือสารสนเทศที่ได้ส่งมอบระหว่างกัน ซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความ ตัวเลข รูปภาพ เสียง วิดีโอ หรือมัลติมีเดีย
3. ผู้รับ (Receiver) คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับรับข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่ง เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ วิทยุ โทรทัศน์ เป็นต้น
4. สื่อกลาง (Medium) หมายถึงสื่อกลางส่งข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสาร 
(Transmission media) ซึ่งอาจเป็นสื่อกลางประเภทสาย เช่น สายเคเบิล สายโทรศัพท์ และสื่อกลางประเภทไร้สาย เช่น คลื่นวิทยุ ซึ่งสื่อกลางดังกล่าวทำหน้าที่ในการให้ข้อมูลสามารถเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางได้
5. โพรโตคอล (Protocol) เป็นกฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล เพื่อให้การสื่อสารระหว่างอุปกรณ์นั้นมีความเข้าใจในทิศทางเดียวกันและสามารถสื่อสารกันได้ หากไม่มีโปรโตคอลแล้วอุปกรณ์ทั้งสองอาจจะติดต่อกันได้แต่ไม่สามารถสื่อสารกันได้ เช่นเดียวกันกับมีบุคคล ๒ คนที่ต้องการพบปะ
กัน และเมื่อได้พบกันแล้วแต่กลับสนทนากันไม่รู้เรื่อง เนื่องจากคนหนึ่งพูดภาษาไทยและอีกคนหนึ่งพูดภาษาอังกฤษ ซึ่งทั้งสองได้มีการติดต่อกันแล้วแต่ไม่สามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างเข้าใจ
           

              พัฒนาการของการสื่อสารข้อมูล 

             มนุษย์มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ทำให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างกันหลายระดับ เช่น การสื่อสารระหว่างคนในครอบครัว ระหว่างเพื่อน ระหว่างคนในสังคม ในอดีตมนุษย์มีการใช้ภาษามือหรือแสดงท่าทาง เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสาร ต่อมาเมื่อมีภาษาพูดก็ใช้การพูดคุยกันโดยตรงและมีการวาดภาพเพื่อบันทึกเรื่องราวถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ เมื่อมีการประดิษฐ์ตัวอักษรก็ใช้การเขียนเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารที่มีระยะทางไกลได้มีการพัฒนารูปแบบการสื่อสาร เช่น ชนเผ่าอินเดียนแดงใช้สัญญาณควันไฟ ชนเผ่าในแอฟริกาใช้การเคาะไม้หรือ ตีกลอง ซึ่งการสื่อสารแบบนี้มีการตกลงรูปแบบของควันไฟหรือจังหวะของเสียงเคาะเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ เมื่อเทคโนโลยีทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ได้มีการพัฒนาให้ก้าวหน้ามากขึ้นทำให้การสื่อสารในปัจจุบันมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันทำได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น เช่น การใช้โทรศัพท์ การใช้อินเทอร์เน็ต การสื่อสารข้อมูลมีพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้


ช่วงเวลา
พัฒนาการของการสื่อสาร
สมัยโบราณ
การส่งข้อความระยะไกลต้องอาศัยคนนำสาร สัญญาณควันไฟ หรือนกพิราบสื่อสาร
พ.ศ.๒๓๗๙
เซมมัวล์มอร์ส (Samuel Morse) คิดค้นรหัสมอร์ส ซึ่งถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและยังใช้ในการสื่อสารด้วยโทรเลข
พ.ศ.๒๔๑๙
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบล ประดิษฐ์โทรศัพท์เพื่อการสื่อสารด้วยเสียงผ่านสายตัวนำ
พ.ศ.๒๔๔๔
กูกลิโกโม มาร์โคนี ทดลองส่งรหัสมอร์สด้วยคลื่นวิทยุเพื่อการสื่อสารได้สำเร็จ
พ.ศ.๒๕๐๑
สหรัฐอเมริกาส่งดาวเทียมเพื่อการสื่อสารขึ้นสู่อวกาศ
พ.ศ.๒๕๑๒
อินเทอร์เน็ต
พ.ศ.๒๕๑๓
การสื่อสารระหว่างเครื่องปลายทางที่อยู่ห่างไกลเข้ามายังคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางเพื่อประมวลผล
พ.ศ.๒๕๑๖
การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้เพื่อทำงานร่วมกัน เช่น ระบบอีเทอร์เน็ต (Ethernet) โทเค็นริง (token ring)
พ.ศ.๒๕๒๒
ระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์ (cellular phone) เริ่มมีใช้เป็นครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ.๒๕๓๐
การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย




ชนิดของสัญญาณ


สัญญาณที่ใช้ในระบบสื่อสารแบ่งออกได้เป็นประเภท คือ สัญญาณอนาล็อก (Analog
Signal) และสัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)

. สัญญาณแอนะล็อก (Analog Signal) หมายถึง สัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป มีลักษณะเป็นเส้นโค้งต่อเนื่องกันไป โดยการส่งสัญญาณแบบอนาล็อกจะถูกรบกวนให้มีการแปลความหมายผิดพลาดได้ง่าย เช่น สัญญาณเสียงในสายโทรศัพท์ เป็นต้น  แต่มีข้อดีคือสามารถส่งได้ในระยะไกล

                  เฮิรตซ์ (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก โดยนับความถี่
ที่เกิดขึ้นใน๑ วินาที เช่น ๑ วินาที มีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ ๖๐ รอบ แสดงว่ามีความถี่ ๖๐ Hz



            ๒. สัญญาณดิจิทัล (Digital Signal) หมายถึง สัญญาณที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง(Discrete Data) ที่มีขนาดแน่นอนซึ่งขนาดดังกล่าวอาจกระโดดไปมาระหว่างค่าสองค่า คือ สัญญาณระดับสูงสุดและสัญญาณระดับต่ำสุด ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน เป็นค่าของเลขลงตัวซึ่งโดยปกติมักแทนด้วยระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "๐" และ "๑"

                 ซึ่งสัญญาณดิจิตอลนี้เป็นสัญญาณที่คอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานและติดต่อสื่อสารกัน ข้อดีของสัญญาณดิจิตอล คือ มีความน่าเชื่อถือสูง แม่นยำ แต่หากมีการส่งต่อในระยะไกลออกไปแล้วจะส่งผลให้สัญญาณผิดเพี้ยนได้ง่าย

                 Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล โดยนับจำนวนบิต (bit) ที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา ๑ วินาที เช่น ๑๔,๔๐๐ bps (bit per seconds) หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจานวน ๑๔,๔๐๐ บิตในระยะเวลา ๑ วินาที



รูปแบบการสื่อสารข้อมูล




            การสื่อสารข้อมูลจะต้องมีการส่งข้อมูลหรือสัญญาณผ่านสื่อกลางไปยังผู้รับ โดยการกำหนดขั้นตอนและวิธีการควบคุมทิศทางการส่งที่แน่นอน แบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ ได้แก่

การส่งข้อมูล (Data Transmission) มีรูปแบบทิศทางของการสื่อสาร ๓ แบบ คือ
1. การส่งข้อมูลทิศทางเดียว (Simplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่ส่งข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลแต่เพียงอย่างเดียวเช่นกัน  เช่น การกระจายเสียงของสถานีวิทยุ  การส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องรับโทรทัศน์  การส่ง e-mail เป็นต้น

             2. การส่งข้อมูลสองทิศทางสลับกัน (Half Duplex Transmission) เป็นการสื่อสารข้อมูลที่ สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย แต่จะต้องผลัดกันส่งและผลัดกันรับ จะส่งและรับพร้อมกันในเวลาเดียวกันไม่ได้ เช่น การสื่อสารโดยวิทยุสื่อสาร เป็นต้น

             3. การสื่อสารแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full Duplex Transmission) เป็นการสื่อสาร ข้อมูลที่สามารถส่งข้อมูลได้ทั้งสองฝ่าย  โดยผู้รับและผู้ส่งสามารถรับและส่งข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน เช่น การสื่อสารโดยใช้สายโทรศัพท์ 


สื่อกลางหรือตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล

สื่อหรือตัวกลางของการสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการนำข้อมูลให้   เดินทางผ่านจากผู้ส่งไปสู่ผู้รับ การวัดปริมาณหรือความจุในการนำข้อมูลที่เรียกว่า แบนด์วิดธ์ (bandwidth) มีหน่วยเป็นบิตต่อวินาที (bit per second) สื่อหรือตัวกลางที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท คือ

๑.      สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย (Wired Media)

๒.      สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media)


๑. สื่อหรือตัวกลางประเภทมีสาย (Wired Media)


             เทคโนโลยีการส่งข้อมูลประเภทมีสาย แบ่งออกตามชนิดของสายสื่อสารได้ ๓ ชนิด ดังนี้

            1.  สายคู่บิดเกลียว (twisted pair cable: TP) ประกอบด้วยลวดทองแดง ๒ เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มแล้วนำมาพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ แต่ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน  สายคู่บิดเกลียวมี ๒ ชนิด ดังนี้

    1.1 สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน หรือยูทีพี (Unshielded Twisted Pair : UTP)
    1.2 สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวนหรือเอสทีพี (Shield Twisted Pair : STP)

สาย
คู่บิดเกลียว
ชนิดไม่หุ้มฉนวนหรือยูทีพี
ชนิดหุ้มฉนวนหรือเอสทีพี
ลักษณะ
สายยูทีพี หรือสายโทรศัพท์ มีทั้งหมด ๘ เส้น ซึ่งแต่ละเส้นจะมีสีแตกต่างกันไป ตลอดทั้งสายจะถูกหุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะสายจะเป็นเกลียว เพื่อช่วยป้องกันสัญญาณรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สายยูทีพีเป็นสายที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากราคาถูกและการติดตั้งง่าย




   สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
มีลักษณะคล้ายกับสายยูทีพี แต่มีฉนวนหุ้มอีกชั้น เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดียิ่งขึ้น นิยมใช้ในสถานที่ที่มีสัญญาณรบกวนสูง ราคาแพงกว่าสายยูทีพี มีขนาดใหญ่และไม่ค่อยยืดหยุ่นในการงอพับสายมากนัก  แต่เดินสายได้ยาวกว่าสาย UTP





สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน



               2. สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) ส่วนใหญ่จะเรียกสั้น ๆ ว่าสายโคแอก (Coax)
โครงสร้างของสายโคแอกประกอบด้วยสายทองแดงเป็นแกนกลาง แล้วห่อหุ้มด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบาง ๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียปุ้มอีกชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ สายชนิดนี้มีราคาแพงกว่าและติดตั้งได้ง่ายกว่าสายคู่บิดเกลียวทนทาน สามารถเดินสายฝังใต้พื้นดินและผ่านใต้ทะเล นิยมใช้เป็นสายสัญญาณจากเสาอากาศ สายเคเบิลทีวี สายโทรศัพท์ทางไกล สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่ายส่วนท้องถิ่น (LAN) แต่ปัจจุบันไม่นิยมใช้ 

ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล

ข้อดี
ข้อเสีย
1. เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล (๕๐๐เมตร)
2. ลดสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้ดี
1. ราคาแพง สายมีขนาดใหญ่
2. ติดตั้ง Connector ยาก

                                     3. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic cable) มีแกนกลางของสายซึ่งประกอบด้วยเส้นใย
แก้วหรือพลาสติกขนาดเล็กหลายๆ เส้นอยู่รวมกัน เส้นใยแต่ละเส้นมีขนาดเล็กเท่าเส้นผมและภายในกลวง และเส้นใยเหล่านั้นได้รับการห่อหุ้มด้วยเส้นใยอีกชนิดหนึ่งก่อนจะหุ้มชั้นนอกสุดด้วยฉนวน  การส่งข้อมูลผ่านทางสื่อกลางชนิดนี้จะแตกต่างจากชนิดอื่นๆ ซึ่งใช้สัญญาณไฟฟ้าในการส่ง แต่การทำงานของสื่อกลางชนิดนี้จะใช้เลเซอร์วิ่งผ่านช่องกลวงของเส้นใยแต่ละเส้นและอาศัยหลักการหักเหของแสงโดยใช้ใยแก้วชั้นนอกเป็นกระจกสะท้อนแสง การให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้วสามารถส่งข้อมูลด้วยอักตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลสูงมาก และไม่มีการก่อกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และเนื่องจากความสามารถในการส่งข้อมูลทั้งตัวอักษร เสียง ภาพ หรือวีดีทัศน์ได้ในเวลาเดียวกัน อีกทั้งมีความปลอดภัยในการส่งสูง

สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic cable)


ข้อดีและข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง

ข้อดี
ข้อเสีย
๑. ส่งข้อมูลปริมาณมากด้วยความเร็วสูง
๒. ส่งได้ระยะทางไกล สัญญาณอ่อนกำลังยาก
๓. ไม่มีการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีข้อผิดพลาดน้อย
๔. มีขนาดเล็กน้ำหนักเบาและมีความปลอดภัยสูง
๕. มีความทนทานและอายุการใช้งานยาวนาน
๑. เส้นใยแก้วมีความเปราะบางแตกหักง่าย
๒. การเดินสายจำเป็นต้องระมัดระวังอย่าให้มี
    ความโค้งงอมาก
๓. มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
๔. การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชียวชาญโดยเฉพาะ


คุณสมบัติและการนำไปใช้งานของสื่อกลางแบบใช้สายชนิดต่าง ๆ

ชนิดของสื่อกลาง
ความเร็วสูงสุด
ระยะทางที่ใช้งานได้
การนำไปใช้งาน
๑. สายคู่บิดเกลียว
    ชนิดหุ้มฉนวน (STP)
๑๕๕ Mbps
ไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
ปัจจุบันไม่นิยมใช้งานแล้ว เนื่องจากมีราคาสูง
๒. สายคู่บิดเกลียว
   ชนิดไม่หุ้มฉนวน (UTP)
๑ Gbps
ไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
ใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์เข้ากับแลนที่ใช้ในปัจจุบัน
๓. สายโคแอกเชียล
๑๐ Mbps
ไม่เกิน ๕๐๐ เมตร
ใช้เป็นสายแกนหลักสำหรับแลนในยุคแรกๆ และยังนิยมใช้เป็นสายสัญญาณภาพและเสียงหรือ
โทรทัศน์
๔. สายไฟเบอร์ออฟติกหรือสายใยแก้วนำแสง
๑๐๐ Gbps
มากกว่า ๒ กิโลเมตร
ใช้เป็นสายแกนหลักในระบบเครือข่ายหรือใช้สำหรับเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่อยู่ห่างไกล

 2. สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย (Wireless Media)

 
                        ในบางสถานการณ์การเชื่อมโยงอุปกรณ์ต่างๆ  เพื่อใช้ในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ โดยใช้สื่อกลางประเภทมีสายอาจทำได้ไม่สะดวกนัก จึงจำเป็นต้องใช้สื่อกลางประเภทไร้สาย ซึ่งจะส่งผ่านข้อมูลโดยอาศัยอากาศเป็นสื่อกลาง ไม่มีการกำหนดเส้นทางให้สัญญาณเดินทาง สื่อหรือตัวกลางประเภทไร้สาย ได้แก่


1. คลื่นวิทยุ (radio wave) คือ เป็นสื่อกลางที่ใช้ส่งสัญญาณไปในอากาศ โดยสามารถส่งในระยะทางได้ทั้งใกล้และไกล โดยมีตัวกระจายสัญญาณ (broadcast) ส่งไปยังตัวรับสัญญาณ และใช้คลื่นวิทยุในช่วงความถี่ต่างๆ กันในการส่งข้อมูล เช่น การสื่อสารระยะไกลในการกระจายเสียงวิทยุระบบเอเอ็ม (Amplitude Modulation : AM ) และเอฟเอ็ม (Frequency Modulation : FM) หรือการสื่อสารระยะใกล้ โดยใช้ไวไฟ ( Wi-Fi ) และบลูทูธ (bluetooth)
2. อินฟราเรด (infrared) แสงอินฟราเรดเป็นคลื่นความถี่สั้นที่มักนำไปใช้กับรีโมตคอนโทรลของวิทยุหรือโทรทัศน์เป็นแสงที่มีทิศทางในระดับสายตา ซึ่งไม่สามารถทะลุผ่านวัตถุทึบแสงได้
แสงอินฟราเรดมักมีการนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์มือถือ อุปกรณ์รอบข้างต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ เครื่องแฟกซ์ และรวมถึงกล้องดิจิตอล อัตราความเร็วปกติในการรับส่งข้อมูลอยู่ระหว่าง ๔-๑๖ Mbps และปัจจุบันมีการบรรจุช่องสื่อสารอินฟราเรด เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งานสื่อสารแบบไร้สายด้วยอินฟราเรด เช่น เมาส์ คียบอร์ด หรือเครื่องพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการสื่อสารไร้สายบนระยะห่างสั้นๆ นี้กำลังถูกเทคโนโลยีอย่างบลูทูธ (Bluetooth) เข้ามาแทนที่
3. บลูทูธ (Bluetooth) ใช้สําหรับการสื่อสารระยะทางสั้นๆ ไม่เกิน ๑๐ เมตร
ใช้การแผ่คลื่นออกเป็นรัศมีรอบทิศทางสามารถทะลุสิ่งกีดขวางหรือกําแพงได้ ใช้คลื่นความถี่อยู่ในช่วง ๒.๔๕ GHz  ใช้พลังงานไฟฟ้าตํ่าและมีขนาดเล็ก
                        4. คลื่นไมโครเวฟ (microwave)  เป็นสื่อหรือตัวกลางที่ใช้วิธีส่งสัญญาณที่มีความถี่สูงกว่าคลื่นวิทยุจากสถานีหนึ่งไปยังอีกสถานีหนึ่ง และสัญญาณของไมโครเวฟจะเดินทางเป็นเส้นตรงไม่สามารถเลี้ยวตามความโค้งของผิวโลกได้ ดังนั้นสถานีจะต้องตั้งอยู่ในที่สูงๆ หรือมีเสาสัญญาณสูง สัญญาณจึงจะเดินทางได้สะดวก ไม่ติดขัด เช่น ดาดฟ้า ตึกสูง หรือยอดเขา ระบบไมโครเวฟมีข้อดี คือ ใช้ในพื้นที่ซึ่งการเดินสายสัญญาณทำได้ไม่สะดวก ราคาถูกกว่าสายใยแก้วนำแสงและดาวเทียม ติดตั้งง่ายกว่า มีอัตราการส่งข้อมูลรวดเร็วมาก แต่สัญญาณจะถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากธรรมชาติ เช่น พายุหรือฟ้าผ่า  
                               5. ดาวเทียม เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกไปสู่ดาวเทียม โดยบนพื้นโลกจะมีสถานีส่งสัญญาณ (Earth Station) ทำการส่งสัญญาณไปยังดาวเทียมที่โคจรอยู่นอกโลก เรียกว่า สัญญาณอัปลิงก์ (Up-link) จากนั้นดาวเทียมจะทวนและกระจายสัญญาณส่งกลับมายังสถานีรับบนพื้นโลก เรียกว่า สัญญาณดาวน์ลิงก์ (Down-link) การสื่อสารระบบดาวเทียมเหมาะสำหรับการสื่อสารระยะทางไกลๆ ที่ระบบสื่อสารอื่นๆ เข้าถึงได้ยาก เช่น กลางป่าลึก กลางทะเล กลางทะเลทราย ระบบดาวเทียมมีข้อดี คือ ส่งสัญญาณครอบคลุมไปยังทุกจุดของโลกได้ ค่าใช้จ่ายในการให้บริการส่งข้อมูลของระบบดาวเทียมไม่ขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างกันของสถานีพื้นดิน  แต่สัญญาณอาจผิดเพี้ยนไปเมื่อต้องทำงานในสภาพอากาศที่แปรปรวน เช่น ฝนตก มีเมฆหมอกมาก เกิดพายุ นิยมใช้กับการสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น การถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลกจากประเทศเยอรมณีมายังประเทศไทย เป็นต้น
 

 
 




















































































































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น